You are currently viewing โลหะคืออะไร ? คุณสมบัติ และมีอะไรบ้าง ?

โลหะคืออะไร ? คุณสมบัติ และมีอะไรบ้าง ?

นอกจากพลาสติกแล้ว โลหะ ก็เป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิเช่น วัสดุก่อสร้าง ระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัว และอื่นๆ อีกมากมาย ก็ได้มีการใช้โลหะในการผลิต

โลหะคืออะไร ?

โลหะเป็นวัสดุชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนประกอบทางเคมีที่เป็นของแข็ง ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานอย่างหลากหลายอุตสาหกรรม ด้วยคุณสมบัติที่ดีมากมาย เช่น มีความแข็งแรงสูง ทนทาน ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพได้ง่าย สามารถนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี ทนต่อการกัดกร่อน ทนต่อการกัดกร่อน และโลหะหลายชนิดผิวก็มีความสวยงาม ขัดให้เป็นเงาวาวได้ และยังขึ้นรูปได้อย่างหลากหลาย ที่สามารถนำมาใช้งานได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะตีเป็นแผ่น หลอมขึ้นเป็นรูปแบบต่างๆ หรือดึงเป็นเส้นเล็กๆ เช่น เส้นลวด ได้อีกด้วย

คุณสมบัติที่สำคัญของโลหะ

  1. ส่วนใหญ่โลหะจะมีลักษณะเป็นของแข็งในอุณหภูมิห้อง (ยกเว้นปรทอ) มีความแข็งแรง มีจุดเดือด และจุดหลอมเหลวที่สูง
  2. โลหะมีความเหนียว สามารถนำมาขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่างๆ ได้ง่าย
  3. ส่วนใหญ่ โลหะจะมีความทึบแสง ยกเว้นจะถูกผลิตออกมาแบบบางมากๆ
  4. โลหะจะขยายตัวที่อุณหภูมิสูง
  5. โลหะที่มีสีมันวาวและเทาเงิน จะมีการสะท้อนแสงในทุกช่วงความยาวคลื่นเท่ากัน แต่โลหะที่มีสีเฉพาะตัว เกิดจากการสะท้อนความยาวคลื่นแสงแตกต่างและดีกว่าโลหะชนิดอื่น เช่น ทองแดง ทองคำ
  6. ส่วนใหญ่ โลหะจะมีคุณสมบัติการนำไฟฟ้า และนำความร้อนได้ดี จึงจะรู้สึกเย็นเมื่อทำการสัมผัสกับโลหะในอุณหภูมิปกติ

ชนิดของโลหะ

โลหะนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ นั่นคือ โลหะที่กลุ่มเหล็ก และโลหะที่นอกกลุ่มเหล็ก ซึ่งจะมีคุณสมบัติดังนี้

1. โลหะกลุ่มเหล็ก (Ferrous Metals)

เป็นโลหะที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบหลัก โดยจะแบ่งออกเป็นเหล็กกล้า (Steel) และเหล็กหล่อ (Cast Iron) โดยอาจจะมีส่วนผสมของโลหะชนิดอื่นเข้าไปผสมด้วยเพื่อปรุงปรุงคุณสมบัติของตัวโลหะ เช่น การผสมใส่คาร์บอนเข้าไปในเนื้อโลหะ โดยคาร์บอนที่ผสมเข้าไปจะช่วยในด้านความแข็งแรงและความเปราะของตัวเหล็ก ซึ่งอาจจะผสมเข้าไปในปริมาณ 0.1% ~ 4%

คุณสมบัติที่สำคัญของโลหะกลุ่มเหล็ก คือ สามารถดูดติดกับแม่เหล็กได้ มีความแข็งแรงสูง แต่จะไม่ค่อยทนต่อการผุกร่อนอาจจะเกิดสนิมขึ้นได้ ซึ่งโลหะกลุ่มเหล็ก สามารถนำมาเปลี่ยนแปลงในการขึ้นรูปทรงด้วยการกลึง เจาะ ไส หรือสามารถรีดเป็นแผ่นได้ตามที่ต้องการ

2. โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non-Ferrous Metals)

เป็นโลหะชนิดที่ไม่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ โดยโลหะในกลุ่มนี้จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ตามความต้องการในการใช้งาน เช่น อลูมิเนียมมีน้ำหนักเบาไม่เป็นสนิม ทองแดงนำไฟฟ้าได้ดี

คุณสมบัติที่สำคัญของโลหะนอกกลุ่มเหล็ก คือ แม่เหล็กดูดไม่ติด อ่อนตัว ทนต่อการเกิดสนิมและการกัดกร่อนได้ดีกว่าโลหะกลุ่มเหล็ก โดยตัวอย่างโลหะชนิดนี้ เช่น อลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง ดีบุก ตะกั่ว ทองคำ เงิน

สรุปข้อแตกต่างระหว่าง โลหะกลุ่มเหล็ก และโลหะนอกกลุ่มเหล็ก

คุณสมบัติโลหะกลุ่มเหล็กโลหะนอกกลุ่มเหล็ก
ทนต่อการเกิดสนิมและกัดกร่อนเกิดสนิมได้ทนต่อการเกิดสนิมและการกัดกร่อนตามธรรมชาติ
คุณสมบัติแม่เหล็กส่วนใหญ่แม่เหล็กดูดติดแม่เหล็กดูดไม่ติด
น้ำหนักมีน้ำหนักมากกว่ามีน้ำหนักน้อยกว่า
ราคามีราคาต่ำกว่ามีราคาสูงกว่า
การนำกลับมาใช้ใหม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ต้องหลอมและทำให้บริสุทธิ์ก่อนสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยไม่เสียคุณภาพ

ตัวอย่างโลหะที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน

  1. เหล็กหล่อ (Cast Iron) – เป็นโลหะในกลุ่มเหล็ก ที่มีการผสมคาร์บอนเข้าไปในเนื้อเหล็กประมาณ 2% ~ 4% ทำให้ตัวเหล็กมีความแข็งมาก แต่ก็มีความเปราะ และความเหนียวไม่มาก ต้องใช้วิธีการหล่อขึ้นรูป เพราะไม่สามารถขึ้นรูปด้วยวิธีการรีดหรือดึงที่อุณหภูมิสูงได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้เหล็กหล่อในการผลิต เช่น กระทะ หม้อ ชิ้นส่วนรถยนต์
  2. เหล็กกล้า (Steel) – เป็นโลหะในกลุ่มเหล็ก ที่มีการใช้งานอย่างหลากหลาย เพราะตัวเนื้อโลหะมีความแข็งแรงสูง ผสมคาร์บอนเข้าไปในเนื้อเหล็กประมาณ 0.1% ~ 1.7% ซึ่งมีความแข็งแรงสูงก็จริง แต่ก็เปราะมากเช่นกัน ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้เหล็กกล้าในการผลิต เช่น กระป๋องบรรจุภัณฑ์ ของใช้ในครัวเรือน เครื่องมือช่าง ลวด น็อต
  3. เหล็กผสม (Alloy Steel) – เป็นโลหะในกลุ่มเหล็กที่มีคุณสมบัติ พิเศษ โดยมีการผสมส่วนผสมอื่นๆ เข้าไปเพิ่มเติม เช่น โครเมี่ยม นิกเกิล เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน โดยโลหะที่สำคัญของโลหะชนิดนี้คือ สแตนเลส สตีล เป็นโลหะที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาการผุกร่อน เพราะโลหะชนิดนี้จะไม่เป็นสนิม ทนทาน ขึ้นรูปได้ง่าย และการดูดกับแม่เหล็กก็จะมีทั้งรุ่นที่ดูดติดและดูดไม่ติดขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ผสมเข้าไปในเนื้อโลหะ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้เหล็กผสมในการผลิต เช่น เครื่องครัว พูลบ๊อกซ์สแตนเลส อุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า
  4. อลูมิเนียม (Aluminum) – เป็นโลหะนอกกลุ่มเหล็ก เป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบา มีสีเทาเงิน สะท้อนแสง ความเสี่ยงของการเกิดรอยร้าวและแตกหักน้อย สามารถนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้อลูมิเนียมในการผลิต เช่น กรอบประตู ฟอยล์ห่ออาหาร ท่ออลูมิเนียมฟอยล์ กระป๋อง
  5. ทองแดง (Copper) – เป็นโลหะนอกกลุ่มเหล็ก ที่จุดเด่นคือมีสีน้ำตาลแดง ค่อนข้างอ่อน สามารถนำมาตีเป็นแผ่น และดึงเป็นเส้นได้ ด้วยคุณสมบัติที่นำความร้อน และไฟฟ้าได้ดี ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทองแดงในการผลิต เช่น สายไฟ สายเคเบิ้ล มอเตอร์ ไดนาโม ข้อต่อ วาล์วน้ำ เครื่องประดับ เหรียญกษาปณ์
  6. ทองเหลือง (Brass) – เป็นโลหะนอกกลุ่มเหล็ก เป็นโลหะที่ผสมกันระหว่างทองแดงและสังกะสี ตัวเนื้อโลหะมีสีเหลืองทอง มีความแข็งแกร่ง ทนต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นสนิม และนำไฟฟ้ากับความร้อนได้ดี ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทองเหลืองในการผลิต เช่น ก๊อกน้ำ ที่จับประตู กระทะทองเหลือง ข้อต่อเครื่องจักร เครื่องดนตรี เคเบิ้ลแกลนทองเหลืองชุบนิกเกิล
  7. สังกะสี (Zinc) – เป็นโลหะนอกกลุ่มเหล็ก มีลักษณะเป็นสีเงิน มีความมันวาว แข็งแต่เปราะ สามารถนำมาหลอมและขึ้นรูปได้ง่าย มีความทนทานต่อการกัดกร่อนจากสภาพอากาศ มักจะถูกนำไปเคลือบและผสมกับโลหะชนิดอื่นเพื่อประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้สังกะสีในการผลิต เช่น นำไปเคลือบโลหะเพื่อช่วยความทนทานต่อการกัดกร่อน เป็นส่วนประกอบของโลหะผสม
  8. ดีบุก (Tin) – เป็นโลหะนอกกลุ่มเหล็ก ในรูปแบบบริสุทธิ์ ดีบุกจะเป็นของแข็ง มีสีขาวเงิน อ่อนตัว จุดหลอมเหลวต่ำ เกาะติดกับโลหะชนิดอื่นได้ เลยถูกมักจะนำไปเคลือบกับโลหะชนิดอื่น เพื่อช่วยป้องกันการกัดกร่อน ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ดุบุกในการผลิต เช่น นำไปเคลือบโลหะ เช่น กระป๋องบรรจุอาหาร หล่อเป็นท่อ ลวดจากดีบุก

ขอบคุณที่มา
pisitmetalwork.com
designtechnology.ipst.ac.th