You are currently viewing หน่วยวัดระบบเมตริก ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ

หน่วยวัดระบบเมตริก ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ

มาตรฐานการวัด ปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายมาตรฐาน โดยเฉพาะ ระบบเมตริก (Metric Unit) เป็นระบบที่สามารถพบเห็นได้บ่อยมากในบ้านเรา เพราะใช้ในการวัดค่าต่าง ๆ สามารถพบเห็นได้ทั้งในไม้บรรทัด ตลับเมตรและอื่นๆ อีกมากมาย โดยหน่วยที่จะได้ยินบ่อยๆ จะเป็นหน่วยที่ใช้วัดความยาว และน้ำหนัก เช่น มิลลิเมตร เซนติเมตร กรัม และ กิโลกรัม

ระบบเมตริกคืออะไร ?

ระบบเมตริก (Metric Unit) เป็นระบบวัดที่ได้รับการออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย และมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ทั้งหน่วยที่อิงตามธรรมชาติ อัตราส่วนทศนิยม คำนำหนัา และอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันก็เป็นมาตรฐานที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในการวัดค่าต่าง ๆ ทั้งความยาว น้ำหนัก และอื่นๆ อีกมากมาย ได้เริ่มพัฒนาจากประเทศฝรั่งเศสและได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน

ประวัติของ ระบบเมตริก

ระบบเมตริกได้เริ่มขึ้น ในปี ค.ศ.1789 – ค.ศ.1999 โดยเริ่มจากการปฎิวัติฝรั่งเศส ที่ให้ชาวฝรั่งเศสได้ปฎิรูประบบน้ำหนัก และระบบการวัดอื่นๆ ที่มีความล้าหลัง ซึ่งในปี ค.ศ. 1790 คุณชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ ได้มีความทะเยอทะยานที่จะนำระบบธรรมชาติและระบบใหม่นี้มาใช้ทั่วโลก จึงเสนอให้ประเทศอื่นๆ ที่ส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเมตริก ซึ่งในขณะนั้น ประเทศอังกฤษได้ปฏิเสธในการร่วมมือ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1791 สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (French Academy of Sciences) จึงได้ตัดสินใจดำเนินการโดยลำพังและจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อการนี้

คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นได้ตัดสินใจว่ามาตรฐานความยาวนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของโลก โดยมีการกำหนดความยาวเป็น เมตร (Metre) โดยความยาว เมตร นั้นเป็น 1 ใน สิบล้านของจตุภาคโลก ความยาวของส่วนโค้งเมริเดียน เป็นพื้นผิวโลกจากเส้นศูนย์สูตรจนถึงขั้วโลกเหนือ และระบบเมตริกได้เปิดตัวในการใช้งาน ในปี ค.ศ.1799 ที่ประเทศฝรั่งเศส

หน่วยของระบบเมตริกเดิมได้นำมาจากลักษณะที่สังเกตได้จากธรรมชาติ ถูกกำหนดค่าเป็นค่าคงที่ทางกายภาพให้ได้ค่าตัวเลขที่แน่นนอนของหน่วย ในรูปแบบที่ทันสมัย

คำนำหน้าในระบบเมตริก

ในระบบเมตริกได้มีการกำหนดตัวคูณและตัวคูณย่อยของหน่วยวัด เป็นไปตามรูปแบบของทศนิยม ที่มีผลของการคูณหรือหารด้วยเลขยกกำลังสิบ สามารถใช้กับหน่วยที่เล็กหรือใหฐ่เกินไปก็ได้ โดยมีแนวคิดการตั้งชื่อดั้งเดิม (ละตินหรือกรีก) ซึ่งคำนำหน้าได้รับการเสนอครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.1793

ตัวอย่างของหน่วยวัด เช่น กิโล คือมีหน่วยวัดที่คูณด้วย 1,000 หรือ 102 และนำไปนำหน้าหน่วยที่ต้องการวัด เช่น 1 กิโลกรัม = 1,000 กรัม และ 1 กิโลเมตร = 1,000 เมตร

ตารางคำนำหน้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

คำนำหน้า สัญลักษณ์ ค่า ทศนิยม
ยอตตะ Y 1,000,000,000,000,000,000,000,000 1024
เซตตะ Z 1,000,000,000,000,000,000,000 1021
เอกซะ E 1,000,000,000,000,000,000 1018
เพนตะ P 1,000,000,000,000,000 1015
เทระ T 1,000,000,000,000 1012
กิกะ(จิกะ) G 1,000,000,000 109
เมกะ M 1,000,000 106
กิโล K 1,000 103
เฮกโต H 100 102
เดคา da 10 101
(ไม่มี) (ไม่มี) 1 100
เดซิ d 0.1 10-1
เซนติ c 0.01 10-2
มิลลิ m 0.001 10-3
ไมโคร μ 0.000001 10-6
นาโน n 0.000000001 10-9
พิโค p 0.000000000001 10-12
เฟมโต f 0.0000000000000001 10-15
อัตโต a 0.0000000000000000001 10-18
เซปโต z 0.0000000000000000000001 10-21
ยอกโต y 0.0000000000000000000000001 10-24

ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ กับระบบเมตริก

ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (SI) เป็นระบบใหม่ที่เกิดขึ้นเพราะความต้องการในการร่วมมือระหว่างประเทศในด้านมาตรวิทยา ทำให้วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1875 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้เกิดการจัดตั้ง สำนักงานชั่งตรง วัด ระหว่างประเทศ (BIPM) เพื่อกำหนดหน่วยวัดสากล คณะกรรมการมาตรวิทยาสากล (CIPM) และจัดตั้งการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศ (CGPM) ซึ่งมีการจัดประชุมในทุก ๆ 4 – 6 ปี

หลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบมาตรวัดยังไม่ได้มีมาตรฐานมากนัก เพราะระบบเมทริกเองก็มีหน่วยวัดที่หลากหลาย และระบบมาตรวัดแบบดั้งเดิมก็ยังมีอยู่หลายชนิด ดังนั้นในการประชุมมาตรวัดครั้งที่ 9 จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1948 ได้กำหนดให้คณะกรรมการวิทยาสากล สร้างหลักสูตรการศึกษาทางด้านมาตรวิทยาในระดับสากลขึ้นมา เพื่อใช้ในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการศึกษา เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์

ในการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศครั้งที่ 10 ได้เห็นชอบว่าควรสร้างระบบสากลขึ้นมากจากหน่วยฐานทั้ง 6 โดยเพิ่มการวัดอุณหภูทิแบะการส่องสว่างเพิ่มเข้าไป และในที่สุด ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ หรือ ระบบเอสไอ ก็ได้ถูกกำหนดขึ้นในการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศครั้งที่ 11 ในปี ค.ศ.1960 โดยมีชื่อจากระบบในภาษาฝรั่งเศสว่า Système international d’unités และในปี ค.ศ.1971 ในการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศครั้งที่ 14 ก็ได้มีการเพิ่มหน่วย โมล เข้าไปเป็นหน่วยฐาน

ระบบหน่วยสากล (SI) ซึ่งแบ่งเป็น 7 หน่วย ได้แก่

ชื่อหน่วยวัด สัญลักษณ์ ชื่อปริมาณ สัญลักษณ์
เมตร m ความยาว l (แอลตัวเล็ก)
กรัม g มวล m
วินาที s เวลา t
แอมแปร์ A กระแสไฟฟ้า I (ไอตัวใหญ่)
เคลวิน K อุณหภูมิ T
แคนเดลา cd ความเข้มของการส่องสว่าง Iv
โมล mol ปริมาณของสาร n

สินค้าของเรา

ขอบคุณที่มา : th.wikipedia.org / en.wikipedia.org / nimt.or.th