You are currently viewing วิธีลดค่าไฟ ทำง่าย ใช้ได้จริง

วิธีลดค่าไฟ ทำง่าย ใช้ได้จริง

ค่าไฟฟ้า เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นับวันก็ยิ่งมีราคาที่สูงขึ้น โดยเฉพาะล่าสุดก็ได้มีการปรับค่า Ft ขึ้นอีกครั้งในเดือน กันยายน 2565 จึงทำให้ค่าไฟฟ้าอาจจะสูงขึ้นได้โดยที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ ดังนั้นการลดการใช้งานไฟฟ้าก็จะเป็นวิธีโดยตรงที่ช่วยในการ ลดค่าไฟ ได้

13 วิธีง่ายๆ ที่ช่วย ลดค่าไฟ ได้จริง

ทางแอดมินได้รวบรวมทริกง่ายๆ ที่ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ โดยรวมมาให้ถึง 13 วิธี มาดูกันว่ามีวิธีใดบ้าง

1. การเลือกใช้หลอดไฟ

การเปลี่ยนการใช้งานหลอดไฟมาใช้แบบหลอด LED เป็นอีกหนึ่งในวิธีในการลดค่าไฟฟ้าได้ เพราะหลอดไฟ LED มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ต่ำกว่า และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ทั้งหลอดแบบไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นต้น ช่วยให้ประหยัดทั้งค่าไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อหลอดไฟ

ซึ่งในปัจจุบันหลอดไฟ LED ก็ไม่ได้มีแบบกลมเพียงแบบเดียวเหมือนสมัยก่อน ซึ่งสามารถนำมาติดตั้งและใช้แทนหลอดเดิมได้อย่างไม่ยากเกินไปนัก

นอกจากนี้ ปัจจุบันก็เริ่มมีหลอดไฟชนิดที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งช่วยสามารถประหยัดค่าไฟได้เพิ่มมากขึ้นอีก เพราะหลอดไฟเหล่านี้แทบจะไม่ใช้ไฟฟ้าจากบ้านเลย โดยหลอดไฟเหล่าจะทำการชาร์จไฟในเวลากลางวันที่มีแสงแดด แต่หลอดไฟชนิดนี้อาจจะมีข้อจำกัดในจุดที่ติดตั้งที่จะมีแสงแดดเพราะต้องทำการชาร์จไฟกับแสงอาทิตย์ ส่วนใหญ่มักจะเป็นหลอดไฟที่ติดตั้งอยู่ภายนอกตัวบ้าน ซึ่งจะมีทั้งแบบเปิด-ปิดอัตโนมัติ และแบบเปิดปิดเอง

2. ปิดไฟดวงที่ไม่ได้ใช้งาน

ถึงแม้การเปลี่ยนหลอดไฟจะช่วยในเรื่องประหยัดค่าไฟได้ดี แต่ถ้าเปิดอยู่ตลอดเวลาก็ยังจะมีค่าไฟฟ้าตามมาอยู่เช่นกัน ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดคือ ปิดหลอดไฟที่ไม่ใช้งาน ทำให้เป็นนิสัย โดยเฉพาะในเวลากลางวันซึ่งมีแสงสว่างจากธรรมชาติอยู่แล้ว แต่สำหรับในเวลากลางคืนก็อาจจะเปิดเฉพาะในดวงที่จำเป็นก็เพียงพอแล้ว

3. ดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งานออก

เชื่อว่าในหลายๆ บ้าน เมื่อไม่ได้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วแต่ก็ยังเสียบปลั๊กคาไฟอยู่ ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในหลายชนิดถึงจะปิดเครื่องแต่ก็ยังมีการทำงานแบบพื้นหลังอยู่ จึงมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ ถึงจะใช้น้อยกว่าในเวลาที่เปิดเครื่องก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ หม้อหุงข้าว พัดลม ไมโครเวฟ คอมพิวเตอร์ ดังนั้นถ้าไม่ได้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวไหน ก็ควรดึงปลั๊กออกด้วยนะ เพื่อลดค่าไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น

4. ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหมาะกับการใช้งาน

การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับงานก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ดีอีกอย่างหนึ่ง เช่น การปิ้งขนมปัง หากมีจำนวนในการอบเพียงไม่กี่ชิ้น ก็ไม่จำเป็นจะต้องเปิดเตาอบขนาดใหญ่ อาจจะใช้เตาติ๊ง หรือเตาปิ้งขนมปังก็เพียงพอ เพราะยิ่งเตาขนาดใหญ่ ก็ยังกินพลังงานไฟฟ้าที่สูงกว่าด้วย

5. เปิดหน้าต่าง ประตูบ้าง

ในเวลากลางวัน ภายในบ้านที่ปิดหน้าต่างประตูอย่างมิดชิด ก็จะทำให้มีการเก็บความร้อนไว้ภายในตัวบ้าน ทำให้ตัวบ้านมีอุณหภูมิที่สูงมาก ยิ่งถ้าเราปิดบ้านเปิดเครื่องปรับอากาศในเวลากลางวัน ยิ่งทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักส่งผลต่อค่าไฟฟ้าได้ ดังนั้นถ้าเราเปิดประตูหน้าต่างบ้านบ้าง

นอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านจากลมที่ไหนเวียนเข้าตัวบ้าน และลมยังช่วยถ่ายเทอากาศภายในบ้านอีกด้วย ถ้าในบ้านไม่ร้อนมากก็อาจจะเปิดแค่พัดลม ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา และการเปิด ประตูหน้าต่าง ยังช่วยให้มีแสงเข้ามาภายในตัวบ้าน อาจจะทำให้บ้านมีความสว่างเพียงพอที่ไม่ต้องเปิดหลอดไฟภายในบ้านอีกด้วย

6. ใช้พัดลมแทนแอร์

พัดลมนั้นก็ช่วยสร้างลมและระบายความร้อนออกจากตัวบ้านได้ดี ถึงแม้จะไม่เย็นฉ่ำและรวดเร็วเช่นเดียวกับ เครื่องปรับอากาศ แต่ก็ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ต่ำกว่าเครื่องปรับอากาศมาก แต่ถ้าจำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ ก็อาจจะเปิดพัดลมไปด้วยเพื่อทำให้แอร์ทำงานเบาลงและลดค่าไฟลงได้ด้วย

7. การตั้งค่าเครื่องปรับอากาศ

ปกติแล้วการใช้แอร์เราก็คาดหวังจากความเย็นจากเครื่องปรับอากาศอยู่แล้ว แต่ถ้าเรายิ่งปรับเย็นมากเท่าไหร่ การทำงานและการกินพลังงานไฟฟ้าก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นควรปรับอุณหภูมิที่พอเหมาะ เช่น ประมาณ 25-26 องศาเซลเซียสก็เย็นได้เพียงพอ และอยู่ในระดับที่ประหยัดไฟได้พอสวมควร

และอีกเทคนิคหนึ่งก็คือการตั้งเวลาปิดแอร์ ก่อนที่เราจะตื่นนอนก่อนซัก 30 – 60 นาที เพราะในช่วงเวลานี้ ถึงแอร์จะหยุดทำงานไปแล้ว เมื่อคุณตื่นขึ้นมาอุณหภูมิก็ยังมีความเย็นหลงเหลืออยู่ ทำให้ช่วยประหยัดค่าไฟได้อีก

8. หมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องใช่ไฟฟ้าโดยเฉพาะอุปกรณ์ทำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ เครื่องดูดฝุ่น หรือรวมถึงพัดลม การใช้งานในระยะเวลานานๆ ก็จะมีฝุ่นที่ติดอยู่บริเวณตัวกรองของอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าวทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลถึงค่าไฟ และยังมีผลต่อสุขภาพของเราอีกด้วย

9. ไม่ใช้อุปกรณ์ทำความร้อนในระหว่างเปิดแอร์

ห้องที่เปิดแอร์ ไม่ควรใช้กับอุปกรณ์ที่ให้ความร้อน ทั้งกระติกน้ำร้อน เตารีด เตาประกอบอาหาร เตาอบ หรืออื่นๆ ที่ทำให้เกิดความร้อน เพราะจะทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น และส่งผลทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักกว่าเดิม และเช่นกันถ้าหากอุณหภูมิในห้องเย็น พวกอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนก็ต้องทำความร้อนเพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้เปลืองไฟฟ้าทั้งสองด้านโดยใช่เหตุ

10. เช็คสภาพห้อง

สำหรับห้องที่มีการใช้แอร์ จะต้องทำการตรวจสอบภายในห้องให้เป็นอย่างดี ทั้งการปิดหน้าต่าง เช็คตามขอบประตู หน้าต่าง หรือบนฝ้า ว่ามีช่องหรือรูหรือไม่ เพราะช่องเหล่านี้จะทำให้อุณหภูมิความเย็นที่ออกจากแอร์ เล็ดลอดออกไปจากห้อง และจะยิ่งทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากขึ้น นั่นส่งผลต่อค่าไฟได้อีกด้วย

11. ไม่เปิดตู้เย็นบ่อยๆ

ตู้เย็นเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการใช้งานเปิดตลอด 24 ชั่วโมง การที่มีอากาศที่ร้อนและเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยๆ จะทำให้ความเย็นภายในตู้เย็นออกมาจากภายในตู้ และทำให้ตู้เย็นต้องทำงานมากขึ้น และการตั้งตู้เย็นก็มีผลด้วยเช่นกัน ควรจะตั้งตู้เย็นไม่ให้อยู่ใกล้กับอุปกรณ์ทำความร้อน ตั้งติดผนัง และคอยละลายน้ำแข็งบ่อยๆ ปรับความเย็นให้เหมาะสมกับการใช้งาน แค่นี้ก็ช่วยประหยัดไฟเพิ่มขึ้นได้แล้ว

12. ติดตั้งฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันไฟฟ้าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีส่วนช่วยทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงได้ เพราะฉนวนกันความร้อนจะช่วยป้องกันความร้อนที่จะเข้ามาภายในตัวบ้าน ทำให้อุณหภูมิภายในบ้านไม่สูงจนเกินไป ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภททำความเย็น ไม่ทำงานหนักจนเกินไป ซึ่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนก็จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่จะมาทำการติดตั้งให้

13. ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์

หากวิธีการจากด้านบนยังไม่สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เพียงพอ การติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดค่าไฟฟ้าอย่างได้ผล แต่การติดตั้งก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่จะคุ้มค่ามากในระยะยาว โดยบ้านในปัจจุบันก็เริ่มมีการติดตั้งโซล่าเซลล์มากขึ้น บริเวณหลังคา (Solar Roof Top)  ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

สินค้าแนะนำ

ท่อร้อยสายไฟ PA

ท่อร้อยสายไฟ PA

  • ใช้ในการร้อยสายไฟไปยังจุดต่างๆ
  • ผลิตจากพลาสติก PA
  • ทนทาน ทนต่อรังสียูวี
  • ดัดโค้งงอได้
  • ใช้งานกลางแจ้งได้
  • ใช้กับงานติดตั้งโซล่าเซลล์ได้